วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ที่มาของ "แฮมเบอร์เกอร์" อาหารยอดนิยม

ยังไม่มีการบันทึกที่ชัดเจนว่าประเทศหรือชนชาติใดเป็นต้นตำรับของแฮมเบอร์เกอร์ แต่คำที่ใช้เรียกขนมปัง 2 ชิ้นที่มีเนื้ออยู่ตรงกลางว่าแฮมเบอร์เกอร์นั้น เริ่มต้นขึ้นที่เมืองฮัมบูร์ก(Hamburg) ประเทศเยอรมนี ขณะที่เมนูกินด่วนแบบนี้ยังไปฮิตติดอันดับที่สหรัฐ แทน ส่วนคนในฮัมบูรก์เองนั้น กลับนิยมทานแซนด์วิชมากกว่า อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าใครเป็นผู้ที่แนะนำให้ชาวฮัมบูร์กรู้จักกับการปรุงอาหารชนิดนี้ โดยมีผู้กล่าวถึงที่มาเอาไว้ 2 ทฤษฎีด้วยกัน โดยทฤษฎีแรกมีการกล่าวเอาไว้ว่า ในช่วงยุคกลาง เมืองฮัมบูร์กเป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญระหว่างโลกอาหรับและยุโรป ทำให้พ่อค้าอาหรับเข้ามาติดต่อกับชาวบ้าน และได้แนะนำอาหารที่ชื่อกะบาบ ซึ่งเป็นเนื้อลูกแกะบดผสมเครื่องเทศ ที่มักจะกินกันดิบๆ ให้กับชาวบ้าน
หลังจากนั้นชาวเมืองฮัมบูร์กได้ดัดแปลงเปลี่ยนจากเนื้อลูกแกะไปเป็นเนื้อหมูหรือว่าเนื้อวัวแทน พร้อมกับปรุงรสขึ้นใหม่ จนกลายเป็น “ฮัมบูร์กสเต็ก” และสุดท้ายก็พัฒนากลายมาเป็น “แฮมเบอร์เกอร์” ในเวลาต่อมา
ส่วนอีกทฤษฎีนั้นกล่าวไว้ว่า ในช่วงที่กองทัพมองโกลของเจงกีสข่านยกทัพบุกรัสเซียนั้น เหล่าทหารจะกินเนื้อลูกแกะดิบที่ปั้นเป็นก้อนกลม ซึ่งเหล่าทหารมีวิธีการทำให้เนื้อนิ่มด้วยการวางไว้ใต้อานม้า
จากนั้นชาวรัสเซียก็รับเอาอาหารชนิดนี้ไป และเรียกว่า “ทาร์ทาร์สเต็ก” เนื่องจากชาวรัสเซียเรียกชาวมองโกลว่า “ทาร์ทาร์” และในช่วงศตวรรษที่ 17 รัสเซียเริ่มที่จะค้าขายติดต่อกับเมืองฮัมบูร์กและก็ได้นำอาหารชนิดนี้ไปเผยแพร่ด้วย โดยชาวเยอรมันได้เปลี่ยนไปใช้เนื้อวัวไปปรุงรสด้วยเครื่องเทศในท้องถิ่นจนกลายเป็น “ฮัมบูร์กสเต็ก” และอาจจะนำไปรมควันหรือว่าหมักเกลือ เพื่อที่จะสามารถเก็บได้นานระหว่างที่กำลังเดินทาง
จากนั้น ทหารเรือชาวเยอรมันและผู้อพยพก็ได้นำเมนูนี้ติดตัวไปยังสหรัฐฯด้วยในช่วง 1800s และในช่วงทศวรรษที่ 1820 หรือ 1830 นี่เองที่มีการนำชื่อ “แฮมเบอร์เกอร์สเต็ก” ไปปรากฏอยู่บนรายการอาหารของร้านอาหารที่ชื่อเดลโมนิโก ซึ่งตั้งอยู่ในนครนิวยอร์ก ก่อนจะได้รับความนิยมแพร่หลาย ไปอย่างรวดเร็ว
ช่วงต้นยุค 1900s ร้านอาหารในสหรัฐฯมากมายหลายร้านได้เริ่มนำแฮมเบอร์เกอร์สเต็กมาใส่ระหว่างขนมปัง 2 ชิ้น หรือว่าใส่ข้างในขนมปัง และเมื่อแฮมเบอร์เกอร์สเต็กถูกนำมาใส่ไว้ข้างในขนมปัง จึงถูกเรียกว่า “แฮมเบอร์เกอร์แซนด์วิช” และผู้ที่คิดค้นขนมปังก้อนสำหรับแฮมเบอร์เกอร์ขึ้นมาก็คือพ่อครัวที่ชื่อ เจ วอลเตอร์ แอนเดอร์สัน ในปี 1916 ก่อนที่เขาค้นนี้จะไปเปิดร้านอาหารที่ชื่อ ไวท์คาสเซิลในปี 1921 สำหรับชีสแฮมเบอร์เกอร์ หรือที่เรียกสั้นๆว่าชีสเบอร์เกอร์นั้น ว่ากันว่าผู้ที่เริ่มคิดค้นลงมือทำเป็นคนแรกก็คือเชฟที่ชื่อ ไลโอเนล สไตน์เบอร์เกอร์ จากร้านอาหารที่ชื่อ ไรท์สปอต ในเมืองพาซาดีนา มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ส่วนผู้ที่ทำให้ชื่อเสียงของฟาสต์ฟูดส์อย่างแฮมเบอร์เกอร์ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในยุคปัจจุบันก็คือ เรย์ ครอก ซึ่งเริ่มเปิดตัวร้านแมคโดนัลด์สาขาแรกช่วงกลางทศวรรษที่ 1950

ที่มา : www.manager.co.th

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2550

Pic มงแซง-มีแชล งามๆ




Vue aérienne du mont.
La marée basse expose une boue épaisse sur les rives du Couesnon
Édifices anciens du Mont-Saint-Michel.







Le Mont-Saint-Michel






มงแซง-มีแชล (Mont Saint-Michel) คือวิหารที่ตั้งอยู่บนเกาะโดดเดี่ยว กลางทะเลชายฝั่งตะวันตก บริเวณแคว้นนอร์มองดีของประเทศฝรั่งเศส ได้รับประกาศจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโกเมื่อปี พ.ศ. 2522 ภายใต้ชื่อ มงแซง-มีแชลและอ่าว
ในปีหนึ่งจะมีนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมเยือนมงแซง-มีแชลกว่า 3 ล้าน 2 แสนคน ซึ่งทำให้ที่นี่เป็นสถานที่ท่องเที่ยงยอดนิยมอันดับที่ 3 ของประเทศฝรั่งเศสรองลงมาจาก
หอไอเฟลและพระราชวังแวร์ซาย
ตัวเกาะอันเป็นที่ตั้งของวิหารนั้นเป็นหินแกรนิต โดยมีเส้นรอบวงเกาะประมาณ 960 เมตร และสูง 92 เมตร แล้วถ้าบวกกับความสูงของตัววิหารนั้นแล้วก็จะมีความสูงถึง 155 เเมตร บนยอดวิหารเป็นรูปปั้นทองของนักบุญมิเชล (ไมเคิล) สร้างโดย เอมานูแอล เฟรมีเย (Emmanuel Frémiet)


ประวัติ
ก่อนที่จะมีการสถานปนาราชวงศ์แรกของฝรั่งเศสขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 เกาะนี้เคยถูกเรียกว่า มงตงบ์ (Mont Tombe) และตามตำนาน วิหารที่อยู่บนเกาะนี้ถูกสร้างโดยการแนะนำของนักบุญมีแชล ที่ได้เข้าฝันนักบุญโอแบร์
บิชอปแห่งมาฟรองช์เมื่อปี พ.ศ. 1251 แต่เขาก็มิได้ปฏิบัติตาม เนื่องจากนึกว่าปีศาจได้มาเข้าฝัน เขาจึงได้เพิหเฉยไป จนมาถึงการฝันครั้งที่ 3 มีแชลได้ใช้นิ้วของเขาจิ้มที่หัวของโอแบร์ และเมื่อเขาตื่นขึ้นมา เขาก็ได้ตะลึงว่ามีรูอยู่บนหัวจริง ๆ จากนั้นมาเขาจึงตัดสินใจสร้างวิหารบนยอดเขา

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2550

รู้ไม๊ "ยุงชอบกัดคนที่แอคทีฟ"

เคยสังเกตุไหม?ว่าเวลาเรานั่งคุยกับเพื่อนเพื่อนบางคนโดนยุงกัดหรือบางทีอาจจะเป็นเราเองทีโดนยุงกัด มากกว่าเพื่อน คนแอ็กทีฟ คนตัวใหญ่และคนอยู่ไม่สุข คนพวกนี้มีกระบวนการย่อยสลายเพื่อเปลี่ยนพลังงาน(metabolism)ไวหล่าคนอื่นจึงเป็นเป้าหมายที่จะดึงดูดให้ยุงมากัดมากกว่าคนอื่นๆ จากการศึกษา ของโจนาธาน เดย์(ศาสตาจารย์ทางกีฎวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย ฟลอริด้า) พบว่ายุงใช้วิธีสูดกลิ่นอคาร์บอนไดออกไซด์จากระยะห่าง5 เมตรออกไปเพื่อควานหาเหยื่อของมัน และเนื่องจากคนตัวใหญ่จะหายใจเอาคาร์บอนไดออกไซต์มามากกว่าปกติดังนั้นพวกเขาจึงตกเป็นเป้าหมายมากกว่า เมื่อยุงบินเข้ามาใกล้ ตาของมันจะสังเกตุเห็นความเคลื่อนไหวของ คนแอ็กทีฟจึงโดดเด่นกว่าในสายตาคนอื่น และคนที่สวมเสื้อผ้าสีเข้มก็เช่นกัน ทั้งนี้เพราะยุงมองเห็นสีในลักษณะที่ตัดกับแสง ยุงจะตัดสินใจว่าจะกัดและดูดเลือดหรือไม่ ก็ต่อเมื่อร่อนลงเกาะบนตัวคนนั้นๆแล้วนั่นแหละจึงจะพิจารณา โดยพิจารณาจากความร้อนและองค์ประกอบของทางเคมีในร่างกายของเป้าหมาย เงื่อนไขข้อนี้ทำให้คนแอ็กทีฟตกที่นั่งลำบากต่อไปอีกเพราะ ยุงอาศัยความร้อนของร่างกายเพื่อค้นหาจุดที่ดีที่สุดของที่มันจะดูดเลือด นั่นคือบริเวณที่มีปริมาณเลือดมากอยู่ใกล้ผิวหนัง นอกจากนี้ยุงยังหาร่องรอยของกรดแล็กติกหรือกรดนม ซึ่งจะพบในนมเปรี้ยวแล้ว กรดจะผลิตขึ้นมาเวลาที่เราออกกำลังกายหนักๆด้วย เมื่อยุงไม่ค้นพบกรดแล็กติกยุงก็จะบินจากไปเพื่อหาเป้าหมายที่ดีกว่า จากหนังสือ 108 ซองคำถาม

วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2550

มารู้จักงานกีฬามหาวิทยาลัยโลกกันเถอะ

"universiade" เกิดจากการรวมกันของคำว่า "university" และคำว่า "olympiad" แปลความหมายได้ว่า มหกรรมกีฬาระดับนักศึกษา ที่มีความเทียบเท่าการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค ปัจจุบันมีการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน และฤดูหนาว ทุกๆ 2 ปี ซึ่งอยู่ในปี พ.ศ.2550 นี้ ในประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพ ในการจัดการแข่งขันกีฬามหาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 ระหว่างวันที่ 8-18 สิงหาคม โดยมีการแข่งขันกีฬาหลักทั้งหมด 10 ชนิด ตามที่ fisu กำหนด และกีฬาเลือกอีก 5 ชนิด ที่ประเทศเจ้าภาพเป็นผู้เลือก โดยมีประเทศที่ร่วมแข่งขันกว่า 170 ประเทศ และนักกีฬากว่า 8,500 คน เข้าร่วมในการแข่งขัน
เส้นสายทั้ง 5 สี ร้อยเรียงในรูปตัว U เปรียบได้ดังเส้นสายแห่งการถ่ายทอดประสบการณ์ การแลกเปลี่ยนความรู้ และ วัฒนธรรม ระหว่างตัวแทนและนักกีฬาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ใน 5 ทวีป ทั่วโลก ทั้งหมดรวมกันเป็นหนึ่งเดียว พุ่งม้วนเข้าสู่สัญลักษณ์ลวดลายสีเหลืองทอง อันเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย เปี่ยมล้นไปด้วยความปิติยินดี และ ความภาคภูมิใจที่ได้รับเกียรติให้ เป็นศูนย์กลางแห่งการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม จึงเป็นที่มาของคำว่า “ALL BECOME ONE”
เนื่องในปี พ.ศ.2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา เพื่อเป็นการร่วมเฉลิมฉลองแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงเลือก “กระต่าย” อันเป็นนักษัตรปีพระราชสมภพ เป็นสัญลักษณ์นำโชคในการแข่งขันครั้งนี้
กระต่าย เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความว่องไว เฉลียวฉลาด อ่อนโยน พร้อมต้อนรับนักกีฬา ทุกชาติด้วยรอยยิ้มและมิตรภาพ ทั้งรูปร่างหน้าตา สีสัน และ กิริยาท่าทาง ล้วนแสดงออกถึงความอ่อนน้อมถ่อมตน อันเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทยที่สืบต่อกันมายาวนาน

วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2550